uss 11 จุดเริ่มต้นของงานวิจัยนี้มาจากแนวคิดที่ว่า  "สิ่งที่มีอยู่  ย่อมมีคุณค่าในการคงอยู่" ทำให้สามารถ  ลดอัตราหรือกำแพงกั้นแห่งวิชาชีพสมัยใหม่  ให้มองทะลุเป็นของดีที่มีอยู่ในสมุนไพรไทย  ผ่านน้ำหมักชีวภาพ  สีดำๆ  กลิ่นตุๆ  มองเห็นถึงผลประโยชน์จากผลที่ปรากฏจริงมากกว่าการเริ่มจากงานวิจัยพื้นฐานเป็นลำดับชั้น  ตามแนวทางของอารยะธรรมตะวันตก

                เมื่อตอนที่นำน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรพลูคาว  จากวัดถ้ำผาปล่องมาวิจัยครั้งแรกเพื่อให้หายสงสัยว่าอะไรเป็นเหตุที่มาของคุณค่าในสมุนไพร  และเพื่อหาสารที่เป็นอันตรายที่อาจมีอยู่ในนั้น  เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ทำงานวิจัยเป็นเบื้องต้นเสียก่อน  ทำให้เราทราบว่านอกจากจะไม่มีสารก่อโทษแล้ว  เราพบสาระสำคัญหลายอย่างที่มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของคน  และจากการคิดค้นและพัฒนาในเนื้องาน  การศึกษาวิจัย  ช่องทางกฎหมายและสังคมไทย  ความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชน  การพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการใครครวญอย่างหนักระหว่างการทำงาน  ในที่สุดก็ทำให้ได้สูตรตำรับสมุนไพร "คาวตองแม็กซ์" ที่เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของวิสาหกิจชุมชนบ้านบวกเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  ออกสู่ผู้บริโภคทั่วไทย

  1. ปี พ.ศ. 2508 มีการนำจุลินทรีย์ Probiotic มาทำน้ำหมักชีวภาพ  หรือ  ไบโอเทคโนโลยี  ใช้เป็นครั้งแรกในโลก  และในปี พ.ศ. 2519  ศาสตราจารย์ ดร. เทเรโอะ  ฮิหงะ  ได้เผยแพร่เรื่องน้ำหมักชีวภาพ  มาสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก
  2. พ.ศ. 2532 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยโทยามา  ประเทศญี่ปุ่น  ได้ใช้น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ที่จากพลูคาวทดสอบเชื้อ HIV-1  ในห้องทดสอบพบว่าสามารถป้องกันไม่ใช้เชื้อไวรัส HIV-1  เข้ามาทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ได้
  3. พ.ศ. 2541 ทีมทำงานวิจัยพลูคาวของประเทศไทยได้ทำการศึกษาวิธีการนำเอาสมุนไพรพลูคาวมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างเป็นรูปธรรม  โดยมุ่งเน้นปัญหาเร่งด่วนของไทย  มีการศึกษาการขยายพันธุ์พลูคาว  ทำสวนสมุนไพรพลูคาว  และนำใบพลูคาวไปให้ผู้ติดเชื้อเคี้ยวกิน  เพื่อรักษาแผลในปากและลิ้น  หรือปั่นใบสดกับน้ำ  เก็บไว้ในตู้เย็นแล้วผสมน้ำหวานกิน  ซึ่งก็สามารถช่วยรักษาโรคติดเชื้อ  ฉกฉวย  เช่น  แผลในปาก  ท้องเสีย  ช่วยผู้ติดเชื้อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
  4. พฤศจิกายน 2541 พระสงฆ์ วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ทำน้ำหมักชีวภาพจากพลูคาวเป็นครั้งแรกในโลก ทดลองให้สัตว์เลี้ยงและแจกเอาบุญแก่ผู้ป่วยสิ้นหวังจากโรคร้ายหลายชนิดกิน ปรากฏว่าสัตว์เลี้ยงและผู้ป่วย ที่ได้รับน้ำหมักชีวภาพมีอาการและคุณภาพชีวิตดีขึ้นชัดเจน
  5. พ.ศ. 2540-2543 งานปลูกแปลงสมุนไพรพลูคาวส่วนตัวที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่  จำนวน 4 ไร่  สามารถเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตดี  มีปริมาณการผลิตมาก และคุ้มทุน  ที่จะป้อนสู่สายพานการผลิตระดับอุตสาหกรรมได้  ช่วงเวลาเดียวกันนี้ทีมงานได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการทดสอบพลูคาวจากห้องปฏิบัติการ  สถาบันวิจัยองค์กรเภสัชกรรมว่า  สารสกัดพลูคาวมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้อย่างแรง  และหลายชนิด (Potent  and  Broad  Spectrum  Activity)
  6. พ.ศ. 2545 คณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ตรวจและวิเคราะห์น้ำหมักชีวภาพใบพลูคาว  ที่นำมาจากวัดถ้ำผาปล่อง  พบจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลองได้ดี  ต่อมาจึงมาสถาบันวิจัยพัฒนาความรู้ในระดับนาโนเทคโนโลยี  และทดลองในระดับ  Clinical  Trail  ในโรคต่างๆที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ  ซึ่งได้ผลลัพธ์ดี
  7. สิงหาคม 2547 ทีมผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนบ้านบวกเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย ภก.อุดม  รินคำ ได้ร่วมงานศึกษาวิจัย  "คาวตองแม็กซ์"  และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเสริมคาวตองโกลด์แม็กซ์ 
  8. พลูคาวแคปซูลuss
  9. พลูคาวแคปซูลuss
  10. 2 
  11. 3         
  12. 4
  13. 5
  14. 6
  15. 7
  16. 8
  17. 9
  18. 10
  19. 11
  20. 12
  21. 13
  22. 14
  23. 15
  24. 18
  25. 18
  26. 19