ปัญหา สุขภาพที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งคือ ท้องผูก ซึ่งข้อมูลบางส่วนมาจากข้อเขียนในเว็บไซด์ของศูนย์ศรีพัฒน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ.นพ.ชัยเลิศ พงษ์นริศร หัวหน้าหน่วยนรีเวชทางเดินปัสสาวะและอุ้งเชิงกราน ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย มาเล่าให้ท่านฟังประกอบงานด้านสมุนไพรที่ผมเห็นว่ามีประโยชน์ในการช่วยแก้ ปัญหาร่วมกับการรักษาโดยแพทย์แบบแผนดังนี้
ท้อง ผูกคืออาการไม่ใช่โรค หมายถึงการที่ลำไส้ไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายและสม่ำเสมอ โดยมีความถี่ของขับถ่ายอุจจาระน้อยกว่าทุกๆสามวันหรือวันเว้นสองวันร่วมกับ ก้อนอุจจาระมีลักษณะแข็งและยากต่อการขับถ่ายออกมา บางคนที่มีท้องผูกอาจรู้สึกเจ็บปวดเวลาถ่ายอุจจาระซึ่งมักต้องออกแรงเบ่ง ท้องอืดมีลมเยอะ แน่นท้องและรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด
ตลอดช่วงวัยชีวิตของมนุษย์ เกือบทุกคนต้องเคยประสบกับอาการท้องผูกบ้างบางครั้ง พบภาวะนี้ได้บ่อยยิ่งขึ้นในกลุ่มสตรีที่สูงวัยกว่า 65 ปี สตรีตั้งครรภ์อาจมีภาวะท้องผูกเนื่องจากลำไส้มีการบีบตัวช้าลง และยังเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสตรีหลังคลอดบุตรหรือหลังผ่าตัด ส่วนใหญ่ของภาวะท้องผูกมักเป็นชั่วคราวและไม่รุนแรง การเข้าใจถึงสาเหตุ การป้องกัน และการรักษาจะช่วยบรรเทาอาการนี้ลงได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่
สาเหตุของภาวะท้องผูกคืออะไร?
สาร อาหารและสิ่งที่มีคุณค่าจากอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางลำไส้ เล็กก่อนที่อาหารจะเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ เมื่ออาหารผ่านมาถึงลำไส้ใหญ่ น้ำจะถูกดูดซึมออกจากอาหารจนเหลือแต่กากอาหารที่จะกลายเป็นอุจจาระต่อไป ลำไส้ใหญ่จะบีบตัวเป็นระยะๆตลอดทั้งวันเพื่อผลักดันให้อุจจาระเคลื่อนต่อไป ยังไส้ตรงในที่สุด ขณะนั้นปริมาณน้ำจะถูกดูดซึมไปเกือบหมดทำให้อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนรูปร่าง เหมือนไส้กรอกและง่ายต่อการขับถ่ายออกมา ภาวะท้องผูกเกิดขึ้นเมื่อลำไส้ใหญ่ดูดซึมน้ำออกมากเกินไปหรือกล้ามเนื้อของ ลำไส้ใหญ่บีบตัวเชื่องช้าหรือเฉื่อยชา ทำให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่อย่างช้าๆ ส่งผลให้ก้อนอุจจาระแข็งและแห้งยิ่งๆขึ้น
สาเหตุของท้องผูกที่พบบ่อย ได้แก่ การ รับประทานอาหารที่ไม่สม่ำเสมอ และมีปริมาณเส้นใยไม่เพียงพอ การขาดการออกกำลังกาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ) ยาบางชนิด เช่น ยาระงับปวด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มยาระงับปวดที่เป็นสารเสพติด) ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมและแคลเซียม ยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิด (ยากลุ่มยับยั้งแคลเซียม) ยาขับปัสสาวะฯการละเลยที่จะออกแรงเบ่งเพื่อขับถ่ายอุจจาระ การขาดสารน้ำ และปัญหาของการทำงานของลำไส้เอง (ภาวะท้องผูกเรื้อรังไม่รู้สาเหตุ)
สามารถรักษาผู้ที่มีภาวะท้องผูกได้อย่างไร?
ส่วน ใหญ่ของผู้ที่มีภาวะท้องผูกจะรักษาตนเองที่บ้านโดยการซื้อยาระบายมารับ ประทานเอง และไม่มาพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ พบว่าในประเทศสหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อผลิตภัณฑ์ยาช่วยระบายในแต่ปีเป็นมูลค่าประมาณ 23,000 ล้านบาท
ลำไส้จะเคลื่อนไหวมากภายหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอาหารเช้า ซึ่งมักเป็นเวลาที่อุจจาระพร้อมจะถูกขับถ่ายออกมาคุณจึงควรไปขับถ่ายอุจจาระเมื่อคุณรู้สึกอยากขับถ่ายครั้งแรกโดยไม่รั้งรอ หาก คุณเมินเฉยต่อสัญญาณขับถ่ายที่ร่างกายส่งมา จะส่งผลให้สัญญาณนั้นอ่อนลงไปเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป คุณควรให้ความสนใจกับสัญญาณขับถ่ายและให้เวลาที่เพียงพอสำหรับการขับถ่าย การดื่มเครื่องดื่มร้อนๆในตอนเช้า เช่น น้ำชาหรือกาแฟ อาจช่วยกระตุ้นให้มีการบีบตัวของลำไส้และส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวันช่วยการขับถ่ายด้วยเช่นกัน
ท่านั่งที่เหมาะสมกับการขับถ่ายอุจจาระ
ท่า นั่งขับถ่ายมีผลอย่างมากต่อการขับถ่ายอุจจาระของคุณ ท่านั่งที่ถูกจะช่วยให้ไส้ตรงทำมุมดีขึ้นต่อการขับถ่าย ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและไม่ล้า ท่าที่ควรนั่งขับถ่ายคือท่าประเภทนั่งยองหรืองอเข่า ผ่อนคลายและหายใจปกติ อย่ากลั้นหายใจ ใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณในการออกแรงเบ่งอย่างนุ่มนวลแต่แรงพอ ให้แนวแรงมีทิศทางไปทางด้านหลังและลงล่างไปยังรูทวารหนัก อย่านั่งนานกว่า 10 นาที ถ้าลำไส้คุณยังไม่พร้อมให้ลองใหม่อีกครั้งในภายหลัง
อาหาร
การรับประทานอาหารที่สม่ำเสมอและดื่มน้ำที่เพียงพอเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี อาหารที่มีปริมาณเส้นใยเพียงพอ (20-35 กรัมต่อวัน) จะช่วยให้อุจจาระมีขนาดใหญ่และนุ่ม อย่าง ไรก็ตามการรับประทานเส้นใยอาหารปริมาณมากอาจทำให้มีอาการท้องอืดหรือมีแก็ส เยอะได้ในบางคน พยายามเพิ่มเส้นใยอาหารประเภทที่ละลายได้ง่าย (เส้น ใยจากผัก ผลไม้ และข้าวโอ๊ต) ซึ้งดีกว่าประเภทที่ไม่ละลาย (เส้นใยจากเมล็ดธัญพืช) เริ่มจากปริมาณน้อยๆก่อนแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นจนกระทั่งก้อนอุจจาระนิ่มลงและ ขับถ่ายบ่อยขึ้น แพทย์หรือนักโภชนาการสามารถจะช่วยให้คุณวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ได้ คุณอาจทราบปริมาณของเส้นใยมีหน่วยเป็นกรัมต่อมื้ออาหารที่รับประทานได้จาก การอ่านข้อมูลข้างภาชนะบรรจุอาหารนั้นๆ (ตารางที่1) อาหารบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยระบายโดยธรรมชาติ เช่น ลูกพรุน (ผลพลัมแห้ง) ผลมะเดื่อฝรั่ง ผลกีวี ชะเอมเทศ กากน้ำตาล (molasses) การโรยเมล็ดลินินหรือเมล็ดแฟล็กซ์กะเทาะเปลือก (cracked linseeds) ลง ในอาหารที่คุณรับประทานอาจช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มและขับออกได้ง่าย สำหรับผู้ที่ท้องผูกง่ายควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ไม่มีเส้นใยหรือ มีน้อย เช่น ไอศกรีม ชีส เนื้อสัตว์ หรืออาหารสำเร็จรูป การดื่มน้ำหรือของเหลวอื่นๆ เช่น น้ำผัก/ผลไม้ ในปริมาณ 1.5 ถึง 2.0 ลิตรทุกวันจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำและช่วยแก้ท้องผูก
การรักษาอาการท้องผูก
การ รักษาภาวะท้องผูกขึ้นกับสาเหตุ ความรุนแรงของอาการ และระยะเวลาที่เป็น ในผู้ป่วยส่วนใหญ่การปรับเปลี่ยนอาหารและลีลาชีวิตจะช่วยบรรเทาอาการและ ป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ หากวิธีง่ายๆดังกล่าวมาแล้วไม่ได้ผล คุณอาจลองใช้ การกินเส้นใยหรือไฟเบอร์ การรับประทานเส้นใยเป็นวิธีที่ถือว่าปลอดภัยที่สุด แม้ว่าเส้นใยอาจรบกวนการดูดซึมของยาบางชนิดได้ เส้นใยจะดูดน้ำให้อยู่ในลำไส้จึงทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลง ส่วน ยาระบายโดย ทั่วไปควรใช้ยาระบายเป็นครั้งคราว ไม่ควรใช้ต่อเนื่องระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาระบายที่ออกฤทธิ์กระตุ้น อาจทำให้เกิดการดื้อยาได้ ผู้ที่ติดยาระบายจำเป็นต้องค่อยๆหยุดยาช้าๆ หลังหยุดยาความสามารถในการบีบตัวของลำไส้จะกลับคืนมาได้ ยาระบายที่มีใช้เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัวเป็นจังหวะๆ ตัวอย่าง เช่นชนิดที่ทำจากใบมะขามแขกหรือ ยาช่วยทำให้ลำไส้มีน้ำเพิ่มขึ้นและเคลื่อนไหวมากขึ้น ซึ่งช่วยให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้ดีจึงลดอาการของภาวะท้องผูกลง หรือการแก้ปัญหาท้องผูกโดยการทำกายภาพบำบัด การผ่าตัดแต่ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปวดท้อง ท้องร่วง และกลั้นอุจจาระไม่อยู่
ภาวะท้องผูกก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้หรือไม่?
บาง ครั้งภาวะท้องผูกอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ได้แก่ ริดสีดวงทวาร เกิดจากการออกแรงเบ่งมากเพื่อขับถ่ายอุจจาระ แผลปริที่ผิวหนังขอบทวารหนัก (anal fissure) เกิด จากก้อนอุจจาระที่แข็งมากทำให้กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก ยืดออกมากเกินไปอาจทำให้เกิดเลือดออกในไส้ตรง และมีรอยเลือดสีแดงสดติดที่ผิวของก้อนอุจจาระได้บางครั้งการออกแรงเบ่งอาจทำ ให้ไส้ตรงยื่นย้อยผ่านทวารออกมา และนำไปสู่อาการมีมูกออกจากทวารหนัก
ภาวะ ท้องผูกอาจทำให้อุจจาระอัดกันเป็นก้อนแข็งอยู่ในลำไส้และไส้ตรงแน่นมากจนทำ ให้แรงบีบตัวของลำไส้ใหญ่ไม่พอเพียงผลักดันให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนลงมา ภาวะนี้เรียกว่าอุจจาระอัดแน่น(fecal impaction)เกิดขึ้นบ่อยในเด็กและผู้สูงวัย
ท้อง ผูกเป็นอาการที่มีระยะเวลาการขับอุจจาระผิดปกติโดยถ่ายอุจจาระหลายๆวันต่อ ครั้งซึ่งมักทำให้ถ่ายไม่ค่อยออก มักมีอาการปวดท้องเวลาถ่ายอุจจาระ อาการท้องผูกรุนแรงจะรวมอาการที่ไม่สามารถผายลมและขับอุจจาระได้เลยนำไปสู่ การอุดตันของลำไส้และเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนสาเหตุของอาการท้องผูกเกิดจาก 2 สาเหตุคือ การอุดตันในลำไส้และลำไส้ขับกากอาหารไปได้ช้า โดยคนทั่วไปมีอาการท้องผูกประมาณ 2-30% ซึ่งระบบการเผาผลาญและต่อมฮอร์โมนอาจเป็นปัญหาไปสู่อาการท้องผูกได้หรือเกิดจากการที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการ ท้องผูกนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนตามมาเช่น ริดสีดวงทวาร แผลปริที่ขอบทวารหนัก บานทะโรคหรือลำไส้ตรงปลิ้น กลั้นอุจจาระไม่ได้ซึ่งเกิดจากอุจจาระที่อ่อนนุ่มจากลำไส้เล็กเคลื่อนตัว เลี่ยงผ่านก้อนอุจาระที่แข็งออกมา
มี หลายท่านที่มีประสบการณ์ในการใช้สมุนไพรคาวตองสูตรตำรับที่ผมได้พัฒนาขึ้นมา นี้ แล้วทำให้อาการท้องผูกหายไปได้ จากการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นโดยการสอบถามผู้ที่ประสบการณ์ในการดื่มสมุนไพร คาวตองและกินแคปซูลพลูคาว น่าจะเกิดจากกลไกที่ต่างไปจากการที่สมุนไพรคาวตองมีรสเปรี้ยวที่อาจช่วย ระบายเหมือนผลไม้ทั้งหลาย เพราะผู้ที่ดื่มสมุนไพรคาวตองแบบน้ำหรือกินสมุนไพรคาวตองแบบแคปซูล ที่หายจากอาการท้องผูก ต่างก็ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ที่คล้ายกันว่า มีการขับถ่ายดีขึ้นแม้ว่าจะมีอาการท้องผูกมานานหลายปี การขับถ่ายเป็นไปอย่างนุ่มนวลไม่ใช่เป็นแบบกินยาระบายชนิดที่เกิดการระคาย เคืองผนังลำไส้เหมือนยาระบายที่ทำจากมะขามแขกหรือฟีนอฟทาลีน ไม่ถ่ายเหลวหรือปวดเบ่งคล้ายท้องเสีย หากพิจารณาตามหลักการแพทย์กลไกที่ทำให้อาการท้องผูกน่าจะมาจาก ในครั้งแรกเป็นการกระทุ้งจากสมุนไพรอย่างหนึ่งคือมีถ่ายเหลว หลังจากนั้นก็น่าจะเป็นกลไกที่เกิดจาก เบต้ากลูแคนที่มีในสมุนไพรคาวตอง ที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นไขกระดูกให้ผลิตและปลดปล่อยสะเต็มเซลล์ให้ออกมา ไหลเวียนในกระแสเลือดมากขึ้น สะเต็มเซลล์จากไขกระดูก(BMSC-Bone Marrow Stem Cell)มี คุณสมบัติดีต่อร่างกายโดยเฉพาะในส่วนที่ไปทดแทนเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นกล้าม เนื้อเรียบของลำไส้ ที่ไม่ปกติ ทำงานไม่แข็งแรง ให้เป็นกล้ามเนื้อเรียบที่แข็งแรง บีบตัวไล่การอาหารออกเป็นอุจจาระได้อย่างปกติ เหมือนกับกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรค กรดไหลย้อนที่กล้ามเนื้อหูรูดอ่อนแรง ไม่สามารถทำหน้าที่ปิดเปิดได้สนิท ปล่อยให้กรดไหลย้อนขึ้นมาระคายเคืองหลอดอาหารกลายเป็นโรคกรดไหลย้อน แต่เบต้ากลูแคนที่มีอยู่ในสมุนไพรคาวตองก็ไปกระตุ้นไขกระดูกให้ออกมาซ่อมแซม กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หูรูด แล้วปิดเปิดหลอดอาหารและกระเพาะอาหารได้เป็นปกติ คนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนก็หายจากอาการของโรคกรดไหลย้อนได้ในที่สุด
หมายเหตุ : ข้อมูลที่เขียนในบทความเป็นความเห็นและประสบการณ์เฉพาะของผู้เขียน การนำเอาไปใช้เองต้องผ่านการพิจารณาโดยรอบคอบจากตัวท่านเองและผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องก่อนเสมอ- ภก.อุดม รินคำ
กรณีศึกษา
กรณีศึกษาภาคสนามเกี่ยวกับสมุนไพรคาวตองที่ผ่านกรรมวิธีหมักแบบชีวภาพและ อาการท้องผูก มีหลายรายที่ทีมงานได้รับข้อมูลดีๆที่แสดงว่า อาการท้องผูกหายไป ไม่ได้เกิดจากความเปรี้ยวของคาวตอง แต่น่าจะเกิดจากหูรูดลำไส้ที่ทำหน้าที่บีบตัวไล่กากอาหารทำงานได้ตามหน้าที่ เช่น
1. แม่สุจินดา แก้ววงค์ อยู่บ้านเลขที่ 323 หมู่ 5 บ้านเด่นคา ต.เชียงทอง อ.วังเจ้า จ.ตาก (โทรฯ 085-7274xxx) มีปัญหาทางกระเพาะลำไส้ ท้องอืดมา 3-4 ปี แล้ว บางครั้ง 7 วันจึงจะถ่ายครั้งหนึ่ง มีอาการเหมือนปวดท้องน่ารำคาญมาตลอด ได้ดื่มคาวตองก่อนนอน พอรุ่งเช้าอาการปวดท้องก็หายไป รู้สึกท้องว่างๆโล่งสบาย ดื่มไปครบ 10 วัน อาการจุกเสียดทั้งหมดที่มีก็หายไปหมด และสามารถถ่ายอุจจาระได้เหมือนคนปกติทุกวัน
2. แม่หนูปั่น จันประไพ อายุ 54 ปี(โทรฯ 084-570-8xxx) 293 ม.3 บ้านหนองเวียงแห่ ต.หนองใหญ่ อ.โพธิ์ทอง จ.ร้อยเอ็ด เป็นริดสีดวงและท้องผูกมานานกว่า 20 ปี หลังจากดื่มคาวตองไป 7 วัน อาการท้องผูกก็หายไป ถ่ายปกติทุกวัน ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีก็เสร็จ
3. แม่จันทร์ สุใจจันทร์ อายุ 64 ปี(โทรฯ 089-7011xxx) อยู่ 50 ม.1 บ้านสบเตี๊ยะ ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นริดสีดวงและท้องผูกมานานร่วม 10 ปี ดื่มคาวตองไป 7 วัน ก็เริ่มดีขึ้น ปัจจุบันถ่ายปกติ ท้องไม่ผูกแล้ว ใช้เวลานั่งถ่ายไม่เกิน 10 นาที