จุดเริ่มต้นของงานวิจัยนี้มาจากแนวคิดที่ว่า "สิ่งที่มีอยู่ ย่อมมีคุณค่าในการคงอยู่" ทำให้สามารถ ลดอัตราหรือกำแพงกั้นแห่งวิชาชีพสมัยใหม่ ให้มองทะลุเป็นของดีที่มีอยู่ในสมุนไพรไทย ผ่านน้ำหมักชีวภาพ สีดำๆ กลิ่นตุๆ มองเห็นถึงผลประโยชน์จากผลที่ปรากฏจริงมากกว่าการเริ่มจากงานวิจัยพื้นฐานเป็นลำดับชั้น ตามแนวทางของอารยะธรรมตะวันตก
เมื่อตอนที่นำน้ำหมักชีวภาพสมุนไพรพลูคาว จากวัดถ้ำผาปล่องมาวิจัยครั้งแรกเพื่อให้หายสงสัยว่าอะไรเป็นเหตุที่มาของคุณค่าในสมุนไพร และเพื่อหาสารที่เป็นอันตรายที่อาจมีอยู่ในนั้น เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ทำงานวิจัยเป็นเบื้องต้นเสียก่อน ทำให้เราทราบว่านอกจากจะไม่มีสารก่อโทษแล้ว เราพบสาระสำคัญหลายอย่างที่มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของคน และจากการคิดค้นและพัฒนาในเนื้องาน การศึกษาวิจัย ช่องทางกฎหมายและสังคมไทย ความร่วมมือของทั้งภาครัฐและเอกชน การพัฒนาองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการใครครวญอย่างหนักระหว่างการทำงาน ในที่สุดก็ทำให้ได้สูตรตำรับสมุนไพร "คาวตองแม็กซ์" ที่เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของวิสาหกิจชุมชนบ้านบวกเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ออกสู่ผู้บริโภคทั่วไทย
- ปี พ.ศ. 2508 มีการนำจุลินทรีย์ Probiotic มาทำน้ำหมักชีวภาพ หรือ ไบโอเทคโนโลยี ใช้เป็นครั้งแรกในโลก และในปี พ.ศ. 2519 ศาสตราจารย์ ดร. เทเรโอะ ฮิหงะ ได้เผยแพร่เรื่องน้ำหมักชีวภาพ มาสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2532 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยโทยามา ประเทศญี่ปุ่น ได้ใช้น้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้ที่จากพลูคาวทดสอบเชื้อ HIV-1 ในห้องทดสอบพบว่าสามารถป้องกันไม่ใช้เชื้อไวรัส HIV-1 เข้ามาทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 ได้
- พ.ศ. 2541 ทีมทำงานวิจัยพลูคาวของประเทศไทยได้ทำการศึกษาวิธีการนำเอาสมุนไพรพลูคาวมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นปัญหาเร่งด่วนของไทย มีการศึกษาการขยายพันธุ์พลูคาว ทำสวนสมุนไพรพลูคาว และนำใบพลูคาวไปให้ผู้ติดเชื้อเคี้ยวกิน เพื่อรักษาแผลในปากและลิ้น หรือปั่นใบสดกับน้ำ เก็บไว้ในตู้เย็นแล้วผสมน้ำหวานกิน ซึ่งก็สามารถช่วยรักษาโรคติดเชื้อ ฉกฉวย เช่น แผลในปาก ท้องเสีย ช่วยผู้ติดเชื้อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
- พฤศจิกายน 2541 พระสงฆ์ วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ทำน้ำหมักชีวภาพจากพลูคาวเป็นครั้งแรกในโลก ทดลองให้สัตว์เลี้ยงและแจกเอาบุญแก่ผู้ป่วยสิ้นหวังจากโรคร้ายหลายชนิดกิน ปรากฏว่าสัตว์เลี้ยงและผู้ป่วย ที่ได้รับน้ำหมักชีวภาพมีอาการและคุณภาพชีวิตดีขึ้นชัดเจน
- พ.ศ. 2540-2543 งานปลูกแปลงสมุนไพรพลูคาวส่วนตัวที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ จำนวน 4 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวได้ผลผลิตดี มีปริมาณการผลิตมาก และคุ้มทุน ที่จะป้อนสู่สายพานการผลิตระดับอุตสาหกรรมได้ ช่วงเวลาเดียวกันนี้ทีมงานได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการทดสอบพลูคาวจากห้องปฏิบัติการ สถาบันวิจัยองค์กรเภสัชกรรมว่า สารสกัดพลูคาวมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้อย่างแรง และหลายชนิด (Potent and Broad Spectrum Activity)
- พ.ศ. 2545 คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตรวจและวิเคราะห์น้ำหมักชีวภาพใบพลูคาว ที่นำมาจากวัดถ้ำผาปล่อง พบจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลองได้ดี ต่อมาจึงมาสถาบันวิจัยพัฒนาความรู้ในระดับนาโนเทคโนโลยี และทดลองในระดับ Clinical Trail ในโรคต่างๆที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งได้ผลลัพธ์ดี
- สิงหาคม 2547 ทีมผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนบ้านบวกเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ นำโดย ภก.อุดม รินคำ ได้ร่วมงานศึกษาวิจัย "คาวตองแม็กซ์" และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเสริมคาวตองโกลด์แม็กซ์